ลักษณะวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 2


       เนื่องจากพระปรีชาสามารถในการปกครองบ้านเมืองของรัชกาลที่ 1  ประกอบกับรัชสมัยอันยาวนานพอสมควรของพระองค์  กรุงรัตนโกสินทร์จึงเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่นเข้ารูปเข้ารอย  ทั้งในด้านระเบียบการปกครอง  การพระศาสนา  ศิลปกรรมด้านต่าง ๆ การพระราชไมตรีกับต่างประเทศและความเข้มแข็งในการป้องกันประเทศมาจนถึงรัชกาลที่เป็นผลให้วรรณคดีในรัชกาลที่  2  เปลี่ยนแนวทางจากการปลุกใจให้ฮึกเหิมกล้าหาญและตั้งอยู่ในระเบียบแบบแผนและศีลธรรมอันดีมาเป็นการบันเทิงทางใจมากขึ้น  เช่น  เกิดวรรณคดีนิราศที่เน้นการบรรยายโวหารพิศวาสและโลกทัศน์ด้านต่าง ๆ เช่น  นิราศของพระยาตรัง ฯ    นายนรินทร์ธิเบศร์และสุนทรภู่  บทละครก็แต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นละคร  มุ่งศิลปะการแสดงทั้งด้านกระบวนรำและร้อง ให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินโดยตรง นิทาน  คำกลอนก็ประสงค์ให้ความบันเทิงไปกับเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ  เช่น  นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี และเรื่องอื่น ๆ ของสุนทรภู่
          แต่อย่างไรก็ดีวรรณคดีในรัชกาลที่  ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการสั่งสอนคติธรรมโดยตรงอยู่บ้าง  เช่น  วรรณคดีสุภาษิต  3  เรื่อง  กาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่และมหาชาติคำหลวง  6  กัณฑ์ ที่แต่งซ่อมใหม่ นอกจากนี้มีการแปลพงศาวดารจีนเรื่องเลียดก๊ก  ห้องสิน  และตั้งฮั่น
          ในด้านลักษณะคำประพันธ์วรรณคดีในรัชกาลนี้แต่งด้วยร้อยกรองประเภทกลอนและโคลงเป็นส่วนมาก มีกาพย์และร่ายมาก  ไม่ปรากฏคำประพันธ์ประเภทฉันท์